มือลั่นจองโรงแรมพลาด ทำยังไงดี?

มือลั่นจองโรงแรมพลาด ทำยังไงดี!

พี่ช้างจะแนะนำเทคนิคง่ายๆสำหรับการจองโรงแรม เมื่อเราพลาดไปแล้ว จะรับมือยังไง

เคยกันใช่ไหมครับ เห็นโรงแรมราคาพิเศษ กดจองโรงแรมไปนึกว่าจะกดยกเลิกได้ฟรี แต่พอมาอ่านดูกลับเจอข้อความที่น่าตกใจ การจองของคุณไม่สามารถขอคืนเงินได้ ! ข้อความเด้งเข้ารัวๆเลย “ยอดเงินคุณถูกเรียกเก็บ สามแสนสี่หมื่นบาท”

 

 ส่วนคนไหนที่ยังไม่เคยพลาด อ่านและเซฟเก็บกันไว้เลยนะครับ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลังครับ

 

เงื่อนไขการจองโรงแรม ทั่วๆไป จะมี 2 แบบ หลักคือ

1. ยกเลิกได้ฟรี โดยไม่มีค่าธรรมเนียม [Free Cancellation ] – สามารถยกเลิกได้ฟรีจนถึงวันที่ xx – xx – xxxx เวลา xx-xx Local time โรงแรมนั้นๆ

2. ไม่สามารถยกเลิกได้ฟรี [ Non refundable ]

– การจองแบบนี้ เกือบทุก เว็ปไชต์การจองในโลกนี้ จะตัดเงินทันที และ การจองแบบนี้จะเป็นราคาห้องพักราคาพิเศษ เพราะทางโรงแรมจะได้มั่นใจว่าผู้เข้าพักมาจริงๆ ไม่ใช่จองทิ้งไว้เล่นๆ จึงได้ออกเรทพิเศษถูกกว่าแบบยกเลิกได้นั้นเองครับ

เมื่อจองผิด จองไปแบบยกเลิกไม่ได้ หรือ ยกเลิกได้แต่ไม่คืนเงิน เราจะทำยังไงได้บ้าง ตามมาดูเลยครับ >>>

รีบติดต่อกับเว็ปไชต์ที่เราจองโดยทันที แจ้งสาเหตุของการจองผิด ไม่ควรปล่อยไม่ล่วงเวลาไปนานนะครับ เพราะถ้าเราปล่อยเวลาไปเนิ่นนานเว็ปเค้าจะมองว่าเราไม่ได้จองผิดจริง

ตรงนี้ทางเว็ปไซต์การจองนั้นๆ เค้าจะไปติดต่อกับทางโรงแรม เพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่ง บางโรงแรมเค้าจะมีเงื่อนไขพิเศษกับเว็ปจองห้องพัก แต่ถ้าในข้อนี้ไม่ได้ ให้ทำตามข้อต่อไปครับ

เมื่อเว็ปไซต์ตัวแทนสำรองห้องพัก ไม่สามารถช่วยเหลือเราได้ ให้รีบติดต่อตรงไปยังโรงแรมที่เรากดสำรองไว้ผิด แจ้งสาเหตุ ที่เกิดขึ้น ว่าทำไมเราถึงจะขอยกเลิก

บางโรงแรมอาจจะไม่ยกเลิกให้ฟรี แต่อาจให้เลื่อนวันเข้าพักได้ หรือ เปลี่ยนชื่อคนเข้าพักได้ ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่โรงแรมนั้นๆ ว่ามีกฎและนโยบายแบบไหน และตรงนี้ขึ้นอยู่กับการพูดคุยตกลงกันระหว่างลูกค้าและโรงแรมครับ

เห็นหลายคน บอกฉันจองผิด แต่การจองนั้นๆไม่สามารถยกเลิก หรือขอคืนเงินได้ เลยไปแจ้งกับบัตรเครดิตขออายัดวงเงินที่ทางเว็ปจองห้องพักได้หักไป

” ทางธนาคารจะทำการตรวจสอบเรื่องว่าเกิดจากสาเหตุใด ลูกค้าบัตรผิดเอง หรือ เว็ปไซต์สำรองห้องพักผิด ถ้าลูกค้าได้กดจองเองโดยถูกต้อง ในเงื่อนไขที่ห้องพักไม่สามารถขอคืนเงินได้

กรณีนี้ทางธนาคารไม่สามารถช่วยเหลือได้นะครับ ทางธนาคารจะถือว่าลูกค้าบัตร ได้ทำการถูกต้องแล้ว ทางธนาคารก็จะหักเงินในบัตรเพื่อชำระให้กับทางเว็ปไซต์จองโรงแรมต่อไปครับ

ส่วนกรณี จองไปแล้ว แต่ไปเข้าพักไม่ได้ เพราะโรงแรมไม่มีตัวตนตามเนื้อหาข่าวสาวมือลั่น อันนี้ทางธนาคารจะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือได้นะครับ เพราะถือว่าลูกค้าซื้อสินค้าและไม่ได้รับสินค้า แต่ต้องพิสูจน์ให้ได้นะครับ ว่าโรงแรมไม่มีตัวตนจริงๆ

ขั้นตอนสุดท้าย

เมื่อลองจนครบทุกวิธีแล้วที่พี่ช้างแนะนำแล้วแต่ไม่สามารถทำอะไรได้ก็เก็บกระเป๋าไปเที่ยวเถอะครับ อย่ามัวนอนร้องไห้ สิ่งเดียวที่จะเตือนใจเราได้เสมอ คือ สติครับ ก่อนกดจองทุกครั้ง อ่านให้ชัดเจนนะครับ

 

ป.ล พี่ช้างมีหลังบ้านมาปรึกษาทุกวันสำหรับปัญหาการจองผิด และยิ่งวันนี้เห็นลงข่าวในไทยรัฐ คงจะอยู่เฉยไม่ได้เเล้ว ต้องมาแนะนำเทคนิคพื้นฐานการจองโรงแรมกันหน่อย

 

https://www.thairath.co.th/content/1144605 << ส่วนในกรณีนี้ แจ้งบัตรเครดิตได้เลยครับ เดี๋ยวทาง agoda กับ บัตรเครดิตจะตามไล่บี้เอง

ขอขอบคุณข้อมูลแหล่งข่าวมือลั่น Thairath