น้องพินจอมยุ่ง PIN CODE CREDIT CARD

น้องพินจอมยุ่ง

PIN CODE CREDIT CARD

PIN CODE มันคืออะไร รู้จักหรือเปล่า?? ไม่เป็นไรถ้าหากยังไม่รู้จักไม่เป็นไร เราจะบอกคุณเองว่ามันคืออะไร มีความสำคัญยังไง ใช้ทำอะไร บอกเลยง่ายนิดเดียว!

PIN CODE จริง ๆแล้วมันอะไร?  มันคือรหัสลับยังไงละ !!!!  

PIN CODE ขอเรียกง่ายๆว่า”น้องพิน” น้องพิน คือรหัสลับส่วนตัวที่เราได้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนของเรานั่นเองและใช้เพื่อสร้างความปลอดภัยอีกขั้นหนึ่ง โดยส่วนมากน้องพินก็จะมีหลักๆอยู่ 2 แบบคือเป็นตัวเลข 4 หลักและเป็นตัวเลข 6 หลัก โดยน้องพินนั้นค่อนข้างมีสำคัญอย่างมาก ดังนั้นถ้าให้ดี อย่าลืมเด็ดขาดนะครับ

น้องพินที่จะพูดถึงนี้ขอแนะนำทั้งหมดมี 3 ประเภท ได้แก่

UNIONPAY, VISA และ Master Card

  • UNIONPAY เป็นบัตรเดียวประเภทเดียวที่ง่ายที่สุดเพราะเป็นบัตรที่มี PIN ตั้งแต่ออกบัตรอยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นรหัสเดียวกับที่ใช้ในการกดเงินดังนั้นหากต้องใช้งาน และระบบให้กดรหัส ก็กดรหัสเดียวกันได้เลย
  • VISA และ MasterCard ทั้งสองประเภทนี้จะต้องขึ้นอยู่กับเจ้าของบัตรซึ่งในประเทศไทยเรานั้นไม่มีระบบ พิน ดังนั้นทำให้เวลาเราไปใช้ในต่างประทศ(ในแถบยุโรป) จะค่อนข้างยุ่งยาก แต่ไม่ต้องกังวลทางเราได้หาข้อมูลมาเพื่อให้เราทุกคนสามารถใช้บัตรเครดิตได้อย่างสบายใจและสะดวกที่สุด ถ้าอยากรู้ว่าต้องทำยังไง ลองอ่านต่อได้เลยครับ !!

**ยกเว้นสำหรับบัตรเดบิตไม่จำเป็นต้องเปิดใช้บริการหรือติดต่อธนาคารแต่อย่างใด สามารถกดรหัสที่ใช้กดเงินได้เลยครับ!!


ก่อนที่เราจะพูดถึงวิธีใช้งาน เรามาพูดถึง น้องพิน(PIN CODE) จะเอามาจากที่ไหน ต้องสมัครหรือเปล่า?? หรือมันเป็นรหัสเดียวกันกับที่ธนาคารเป็นผู้ส่งให้??

ถูกต้องแล้วครับ คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว ปิ๊งป่อง!!!!  รหัสที่ธนาคารส่งให้หลังจากได้รับบัตร นั่นคือ รหัสพิน(PIN CODE) นั่นเอง

อ้าว!!! แย่แล้วทำหายไปแล้ว ต้องทำยังไงดี แบบนี้ถ้าทำหายก็ใช้บัตรในต่างประเทศไม่ได้หรอ??

ไม่ต้องตกใจไป เรื่องนี้แก้ไขได้ง่ายมาก เพียงแค่โทรติดต่อธนาคารเจ้าของบัตร พร้อมกับแจ้งพนักงานว่า ต้องการขอออกรหัสกดเงินสดใหม่ เท่านี้คุณก็จะได้รับรหัสใหม่ และพร้อมนำบัตรไปรูดซื้อของได้แล้ว!!!

(การขอรหัสกดเงินสด บางธนาคารอาจมีค่าธรรมเนียมในการขอออกรหัสใหม่และอาจจะต้องใช้เวลา โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง)
เรามาพูดถึงวิธีการใช้งานบัตร ในกรณีที่ต้องกดรหัสพิน กันดีกว่า (บางคนอาจจะยังงงในการใช้งานอยู่บ้าง แต่บอกเลยง่ายนิดเดียวเอง)ตามนโยบายของ VISA และ MASTERCARD หากยอดไม่ถึง 50 ดอลลาร์ไม่จำเป็นจะต้องเซ็นต์สลิป และใส่รหัสพิน  ใด ๆทั้งสิ้น ดังนั้นหากยอดไม่ถึง ก็ไม่ต้องกังวลเลยครับ

  • (ในส่วนนี้ต้องสังเกตกันนิดหน่อย) ให้ดูว่าเครื่องที่เราจะรูดนั้น รองรับระบบแบบไหนบ้าง อาทิเช่น รองรับเฉพาะ PIN [ก็คือต้องใส่รหัส PIN] ส่วนอีกแบบก็คือ รองรับทั้งสองระบบ [สามารถใส่เฉพาะ PIN หรือ เซ็นต์สลิป] ก็ได้
  • ในกรณีที่เจอเฉพาะเครื่องที่รองรับระบบพิน และไม่สามารถเลี่ยงได้

แนะนำเบื้องต้น!!

  1. ให้ลองกดรหัสสำหรับกดเงินสด หรือรหัส ATM ดูก่อน
  2. หรือลองกดเป็น 1234 หรือ 0000 (มีหลายท่านลองกดแล้ว สามารถใช้งานได้)
  3. ไม่ต้องใส่รหัสใด ๆทั้งสิ้น ให้กด CANCEL หรือ กด ENTER เพื่อดำเนินการต่อได้เลยครับ

**หากลองทั้งหมดแล้วไม่สามารถทำรายการได้ แสดงว่าบัตรใบนั้นไม่รองรับการทำรายการนี้ได้


ธนาคารในประเทศไทย

  • ธนาคารกรุงเทพ : สามารถกดรหัสกดเงินสดได้เลย
  • ธนาคารไทยพาณิชย์: สามารถกดเลข 0000, 1234 หรือ ให้กด CANCEL ได้เลยครับ
    • [แต่หากไม่ได้ แนะนำให้ลองกดเป็นรหัสกดเงินสด ดูก่อนก็ได้]
  • ธนาคารกสิกรไทย: สามารถกดรหัสกดเงินสดได้เลย
    •  (ในกรณีที่ลืมรหัสกดเงินสด(PIN) สามารถทำรายการขอออกรหัสใหม่ได้ แต่จะมีค่าธรรมเนียม 100 บาท)
  • ธนาคารกรุงไทย(KTC): สามารถกดรหัสกดเงินสดได้เลย
    • [สำหรับ PIN 4 ตัว(กดรหัสกดเงินสด)]
    • [สำหรับ PIN 6 ตัว (ให้กดรหัส 4 ตัวและกด Enter 2 ครั้ง) ก็จะสามารถทำรายการต่อได้]
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : ไม่รองรับระบบพินได้ ดังนั้นแนะนำให้ใช้ผ่านเครื่องรูดบัตรที่สามารถรองรับระบบเซ็นต์สลิปได้เท่านั้น
  • ธนาคารธนชาต: สามารถกดรหัสกดเงินสดได้เลย
  • ธนาคารยูโอบี: สามารถกดรหัสกดเงินสดได้เลย
  • ธนาคารซิตี้แบงก์:  สามารถกดรหัสกดเงินสดได้เลย
    • [พนักงานคอลเซนเตอร์ แจ้งว่าระบบรองรับแค่การ Verified ในการเซ็นต์สลิปเท่านั้น แต่สามารถลองใส่รหัสกดเงินสดได้]
  • ธนาคารออมสิน : สามารถกดรหัสกดเงินสดได้เลย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พิน(PIN CODE)  เหมือนจะยากแต่จริง ๆไม่ยากเลยใช่ไหมครับ เพียงแค่บางครั้งเราอาจจะต้องเรียนรู้กับมันเพิ่มสักนิดหนึ่ง แต่บอกเลยว่าเมื่อเราทราบวิธีใช้งานมันก็ช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้นเยอะเลยนะครับ ยังไงหากสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้เลยนะครับ