เทคนิคการจองโปร 0 บาท มือใหม่หัดจองห้ามพลาด!

PChang เทคนิคการจองโปร 0 บาท

มือใหม่หัดจองห้ามพลาด! สำหรับเทคนิคการจองตั๋วโปรแอร์เอเซีย เริ่มต้น 0 บาทต่อเที่ยว หลายคนสงสัย จองยังไงให้ได้ราคาโปร ราคาถูก

หลายคนหงุดหงิดทุกครั้งที่จองตั๋วราคาโปร แต่ไม่ได้ราคาโปร เพราะมีค่าโน้นนี่เพิ่มมาด้วย ปัญหานั้นจะหมดไป มาดูวิธีการเลี่ยงค่าใช้จ่ายทริปของเรา สำหรับค่าบริการเสริมต่างๆที่เราเลือกประหยัดได้ครับ

**ที่เหลือให้เป็นเรื่องของความเร็วอินเตอร์เน็ตและ Server แหละครับ พี่ช้างเอาใจช่วยทุกคนนะ


HOW TO GET 0 BAHT TICKET FROM AirAsia?
มาดูวิธีการจองโปร 0 บาทของสายการบินแอร์เอเชียกันครับ

 

หลายครั้ง การมัวแต่จิ้มๆๆๆ รายชื่อเพื่อนแต่ละคนนั้นทำให้เสียเวลามาก บางคนตื่นเต้นเกินไป อาจเกิดความผิดพลาดได้ พิมพ์ชื่อนามสกุลผิดไป งานเข้าแน่ๆ
พี่ช้างขอแนะนำให้เพื่อนๆสมัครสมาชิกแอร์เอเชียกันไว้ และเข้าไปบันทึกรายชื่อเพื่อนๆ และคนที่จะเดินทางไปด้วยเลยครับ เลือกคำนำหน้าตามเพศเลยครับ ไม่ต้องกังวัลเรื่อง นาย นางสาว นาง ฯลฯ
**วิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลาการจองได้เยอะเลย เพราะว่าช้าไป 1 นาที ตั๋วโปรอาจถูกคนอื่นจองตัดหน้าได้นะ

 

 

จองตั๋วโปร ยังไงให้เจอราคาโปร?
ก่อนจองทุกครั้ง อย่าลืมตรวจสอบด้วยนะครับว่า “ช่วงเวลาเดินทาง” ของโปร 0 บาท ที่ทางสายการบินปล่อยจะมาช่วงเวลาไหน เช่น 1 มี.ค. – 28 พ.ย. 2561 อะไรทำนองนี้ เรามัวแต่ไปค้นหาช่วงเวลา ม.ค. 2561 ค้นหาทั้งวันจนเน็ตหลุด ยังไงก็ไม่เจอราคาโปรครับ
สำรวจราคาโปรแต่ละเส้นทาง เช่น 290 390 490 บาทต่อเที่ยว หรือ 1xxx , 2xxx , 3xxx สำหรับเส้นทางราคาพิเศษต่างๆ และที่สำคัญ “เลือกจองจำนวนผู้โดยสารน้อยๆ” ยิ่งดี เพราะว่าราคาโปรแแต่ละเส้นทาง แต่ละวันนั้น รับรองว่า ไม่มีที่ว่างให้เราจองเยอะขนาดนั้น, less is more ท่องไว้ให้ขึ้นใจนะ
สาวโสด หนุ่มโสดคนไหนชอบเที่ยวคนเดียว รับรองว่า “ราคาโปรอยู่แค่เอื้อม” ขึ้นอยู่กับว่า จะอดทนเฝ้าหน้าจอได้นานแค่ไหนกับระบบที่พร้อมจะลืม เพราะคนจองด้วยมหาศาล และที่สำคัญเงินในบัญชีพร้อมแค่ไหน?

 

 

ราคาโปรโมชั่นแต่ละเส้นทางของแอร์เอเชียนั้น ถึงแม้จะรวมภาษีแล้ว แต่ยังไม่รวมบริการเสริมใดๆทั้งสิ้น เช่น โหลดกระเป๋าใต้ท้องเครื่อง เลือกที่นั่งบนเครื่อง หรือ อาหารบนเครื่องเราก็ต้องซื้อเพิ่มเองครับ
ถ้าโจทย์ของผู้โดยสาร คือ ต้องการโหลดสัมภาระ (ไม่เกิน 20 กก.) เลือกที่นั่ง และอาหารบนเครื่องให้เลือก “แพ็คสุดคุ้ม” จะช่วยประหยัดได้ดีที่สุด เพราะ ถ้าคิดราคาแยกกันแล้ว แค่ราคาโหลดสัมภาระ 20 กก. ก็ประมาณ 300 บาท แล้วครับ
ส่วนใครเน้นประหยัด ไม่โหลด ไม่กิน นั่งที่ไหนก็ได้ ก็ข้ามตรงนี้ไปครับ ไม่ต้องซื้อเพิ่ม แต่ “ถือสัมภาระขึ้นเครื่องได้ 7 กก.” นะครับ และระบบจะสุ่มที่นั่งให้เองตอนเช็คอิน ไม่ต้องกลัวว่าจะได้เกาะปีก นั่งล้อเครื่องบินนะ วิธีนี้เหมาะกับสายลุย แบกเป้เที่ยว
**แพ็คสุดคุ้ม ประกอบด้วย โหลดสัมภาระได้ 20 กก. เลือกที่นั่งธรรมดาฟรี และอาหารบนเครื่องครับ

 

 

ใครไม่อยากซื้อแพ็คสุดคุ้ม ไม่อยากเสียค่าเลือกที่นั่ง แต่อยากจ่ายเพียงแค่ค่าโหลดสัมภาระ เข้ามาเลือกตรงนี้ได้ครับ ทั้งขาไปหรือขากลับ
ส่วนใครเน้นประหยัด อย่าลืม คลิก “ไม่ ขอบคุณ” ในช่องสัมภาระเช็คอินนะ (ระบบมันจะเลือก โหลดสัมภาระ 20 ก.ก. ให้อัตโนมัติ เราต้องคลิกเอาออกเอง)

 

 

อาหาร เลือกที่นั่ง หรือชุด Comfort Kit สิ่งเหล่านี้ เราไม่ต้องซื้อเพิ่มก็ได้ ครับ ช่วยประหยัดไปอีก
**เรื่องที่นั่ง ระบบจะสุ่มให้เราเองตอนเช็คอินครับ ยังไงเดินทางได้แน่นอน หรือใครมีสิทธิเลือกที่นั่ง Hot Seat จากบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ ก็ไม่ต้องซื้อเพิ่มครับ

 

 

เดินทางเส้นทางในประเทศ ประกันการเดินทาง ก็คลิกเอาออกได้ ถ้าไม่ต้องการจ่ายเพิ่ม
หรือใครอยากซื้อประกันการเดินทาง ก็ตามสะดวกเลยนะครับ ข้อนี้แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคนเลย

 

 

เลือกชำระเงินในช่องทางใดที่เสียค่าธรรมเนียมน้อยที่สุด?
ช่องทางการชำระเงิน มีช้อยส์ให้เลือกเยอะเลยครับ พี่ช้างขอเรียงค่าธรรมเนียมที่น้อยสุดไปมากสุดครับ
ตัดบัญชีอัตโนมัติ >> เคาน์เตอร์เซอร์วิส >> บัตรเครดิต/เดบิต
เชื่อว่าหลักๆแล้ว หลายคนใช้วิธีการชำระเงิน 3 ช่องทางนี้เยอะที่สุดแล้วครั

 

 

———————————-