รีวิว เปรียบเทียบหมัดต่อหมัด KTB Travel Card VS TMB All Free

TMB All Free และ KTB Travel Card

บัตรทั้ง 2 ใบนี้ตอบโจทย์นักเดินทางอย่างไร ทำไมถึง ต้องมีบัตรทั้ง 2 ใบนี้ไว้ ในตัวลักษณะของบัตรทั้ง 2 ประเภทนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่าบัตรทั้ง 2 ประเภทนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง มีประโยชน์ในการใช้งานคนละแบบ คือ

TMB All Free เป็นบัตร Debit Card ของธนาคารทหารไทย โดยบัตรออกมาภายใต้แบรนดืของ Visa Card ทำให้บัตรประเภทนี้มีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ตามมาด้วย รวมไปถึง TMB All Free ยังเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ประเภทเงินฝากของ ธนาคารทหารไทยด้วย ทำให้ผู้ที่ใช้ TMB All Free นั้นได้ดอกเบี้ยเงินฝากมากขึ้นอีกด้วย สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ >>> https://www.changtrixget.com/review/tmb-all-free/

tmb all free card

คุณสมบัติเด่น ๆ มี ดังนี้
– โอนต่างธนาคาร หรือโอนข้ามจังหวัด ฟรี
– จ่ายบิล เติมเงิน หักบัญชีโดยอัตโนมัติ ฟรี
– กดเงินทุกตู้ ทุกแบงก์ ทุกจังหวัด ฟรี
– ค่าออกบัตรใหม่ กรณีบัตรหาย/ชำรุด/หมดอายุ ฟรี
– ไม่จำเป็นต้องคงเงินในบัญชี หรือมีเงินเข้าทุกเดือน
– รับดอกเบี้ยพิเศษ ! เมื่อใช้ บัตร ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี อย่างน้อย 5 ครั้งต่อเดือน ก็รับดอกเบี้ย ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ เพิ่มเป็น 1.6%
– ประกันการเดินทาง All Free ฟรี ได้จนถึง 31 ธันวาคม 2562 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tmbbank.com/promotion/view/travel-insurance.html

– คุ้มครองการซื้อสินค้าออนไลน์ ฟรี  มูลค่าสินค้า 1,000 บาท ขึ้นไป ต่อครั้ง (สูญหาย/ไม่ตรงสเปค) คืนเงินตามมูลค่าจริงของสินค้า สูงสุด 5,000 บาทต่อครั้ง รวมสูงสุด 10,000 บาทต่อปี ** รับประกันค่าสินไหมทดแทนโดยบริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย ศึกษารายละเอียด และวิธีการให้บริการด้านสินไหมทดแทน เพิ่มเติม คลิก

– ฟรี ประกันอุบัติเหตุ 20 เท่าของเงินฝาก สูงสุด 3 ล้าน เพียงมีเงินฝาก ตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป (จะได้รับความคุ้มครอง 20 เท่าต้องมีเงินฝากอยู่ในบัญชี TMB All Free อยู่ที่ 150,000 บาท หมายเหตุ บัญชี TMB All Free ไม่มีดอกเบี้ยเงินฝาก)

Krungthai Travel Card เป็นบัตรกึ่ง ๆ ประเภท Prepaid Card หรือ บัตรเติมเงิน ประเภทหนึ่ง ซึ่ง Krungthai Travel Card มีบัตรอยู่ 2 ประเภท คือ บัตรสีฟ้าที่สามารถใช้เก็บเงินได้ 10 สกุลเงินได้แก่ USD, GBP, EUR, HKD, JPY, AUD, SGD, NZD, CAD และ CHF อยู่ภายใต้ Visa Card ในขณะที่อีกบัตรมีสีแดง มีชื่อเรียกว่า Krungthai Travel Card UnionPay ซึ่งจะสามารถใช้เก็บเงินได้เพียงแค่สกุลเงินเดียวคือ CNY หรือ เงินหยวนนั่นเอง โดยบัตรใบนี้อยู่ภายใน UnionPay ของจีนเป็นหลักทำให้สามารถเก็บเงินได้เฉพาะ CNY

ภาพ บัตร Krungthai Travel Card ที่สามารถเก็บเงินได้ 10 สกุลเงิน

ภาพ บัตร Krungthai Travel Card UnionPay สำหรับเก็บเงิน CNY

หลักการทำงานและจุดเด่นของ Prepaid Card นี้คือ สามารถแลกได้ทันทีใน Application ของ ธนาคารกรุงไทยโดยอ้างอิงจากเรทของ ธนาคารกรุงไทย ณ เวลานั้น ๆ โดยใช้เงินบาทไปแลกเป็นเงินสกุลที่ตัวบัตรรองรับ เช่น นำเงินบาทไปแลกเป็นเงินสกุล USD โดย เงินบาทของเรา จะถูกแปลงไปเป็น USD โดยอัตโนมัติ เป็นต้น ข้อดี คือ เราสามารถใช้วงเงินในสกุลที่เราแลกเก็บไว้ได้ทันที ทำให้ไม่โดน Charge ในเรื่องของค่าความเสี่ยงของสกุลเงิน ที่สำคัญ กรณีถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เงินบาทแข็งค่าขึ้น หรือ เงินบาทอ่อนตัวลง ก็ไม่มีผลต่อมูลค่าของสกุลเงินที่ถูกเก็บอยู่ในบัตร ยกเว้น กรณีขายเงินคืนกับทางธนาคาร

สรุป

จากข้อมูลข้างต้นเห็นแล้วว่าลักษณะของตัวบัตรต่างกันโดยสิ้นเชิง เนื่องจาก TMB All Free เป็น บัตร Debit Card แต่ในขณะที่ Krungthai Travel Card เป็น Prepaid Card ต่อไปเรามาเปรียบเทียบตัวบัตรแบบชัด ๆ กันอีกครั้ง กับบัตรแลกเงินสกุลตราต่างประเทศสองเจ้าดังในตลาดขณะนี้ บัตรเจ้าไหนมีคุณสมบัติต่างกันอย่างไร ใครชอบแบบไหนเลือกได้จากข้อมูลตรงนี้ได้เลยครับ

โดยปกติทั่วไปถ้าเราใช้งานบัตรเดบิต , เครดิต ที่ต่างประเทศ หรือ ซื้อเป็นสินค้าเป็นสกุลเงินต่างประเทศเราจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอัตราแลกเปลี่ยน 2-3% (FX FEE) เช่นเราซื้อสินค้า 100 บาท ถ้าบัตรทั่วไปๆ เราจะต้องจ่ายเพิ่มอีก 2-3 บาท แต่ถ้าเป็นบัตรพวกนี้เราไม่ต้องเสียเพิ่มอีกแล้ว แถมเรทเงินจะคิดราคาพอกับร้านแลกเงินทั่วๆไป บัตรพวกนี้ปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสดเยอะๆ
ความเสี่ยงของสกุลเงิน (FX)
ความเสี่ยงของสกุลเงิน คืออะไร ?
ทุกครั้งที่เราชำระค่าสินค้า หรือ บริการ ที่เป็นยอดเงินต่างประเทศ ปกติจะโดนคิดค่าความเสี่ยงที่ 2 – 2.5% โดย ธนาคารจะมี สูตรในการคำนวน ดังนี้
เช่น ซื้อ Pizza ราคา 100 USD ด้วยบัตรเครดิต Visa ณ วันที่ร้านค้าเรียกเก็บเงิน จะถูกคิดค่าความเสี่ยงตามอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินนั้น ๆ สมมติ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เรียกเก็บ = 31.50 บาท และค่าความเสี่ยง = 2%
จะถูกเรียกเก็บเงินที่ 31.50 x 2% = 32.13 บาท เท่ากับ เราจะต้องจ่ายเงินสำหรับ ซื้อ Pizza นี้ที่ราคา 3,213 บาท แทนที่จะจ่าย 3,150 บาท (ต่างกัน ถึง 63 บาทเลยทีเดียว)

เปรียบเทียบ

TMB-ALL-Free-VS-KTB-Travel-Card

 

บัตร TMB ALL FREE , บัตร KTB TRAVEL CARD วิธีสมัครก็ง่ายๆ ถ้าใครยังไม่มีบัญชีธนาคารก็เดินไปที่สาขาของธนาคาร ไปทำการสมัครบัตรได้เลย น้องๆนักเรียน นักศึกษา หรือคนเครดิตบูโรไม่ดีก็ทำได้ สบายๆเลยครับ

———————————-
#Travel #Shopping #Dining #Hotel #Promotion #News #Ticket #ตั๋วถูก #ทางลัด #โปรโมชั่น #ตั๋วเครื่องบิน #ส่วนลด #โรงแรม #ตั๋วโปร
———————————-
บินใกล้บินไกล ซื้อประกันเดินทางไว้อุ่นใจสุด>> url.changreview.com/v3MLN
—————————————
” เช่ารถ ทั่วไทย และ ทั่วโลก เริ่มต้นวันละ 148 บาท ”
#กดรับส่วนลด900บาท >> http://bit.ly/2SYN50B
#จองรถเช่า >> http://bit.ly/2tYXXlf