ขอเงินประกันไฟ อย่างไร วิธีการลงทะเบียน ตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้าและขั้นตอนรับเงิน

ขอเงินประกันไฟ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดให้ประชาชนทุกคนได้ลงทะเบียน รับสิทธิการ ขอเงินประกันไฟ หรือ ขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ตามมาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ากรณีบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก โดย นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ.ได้ประกาศหลักเกณฑ์การคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก ปี 63 ส่งผลให้ 3 หน่วยงาน ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กิจการไฟฟ้าสวัสดิการกองทัพเรือ (กฟส.) ต้องคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดยเปิดลงทะเบียนตั้งแต่ 25 มี.ค.นี้เพื่อให้ตรวจสอบสิทธิและเริ่มทยอยจ่ายคืนเงินได้ตั้งแต่ 31 มี.ค.เป็นต้นไป “ขอให้ประชาชนใช้ช่องทางลงทะเบียนผ่านออนไลน์เพื่อขอรับคืนเงินเป็นหลัก ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สิทธิได้ไม่กำหนดเวลาสิ้นสุด และต่อไปจะไม่มีการเรียกเก็บเงินหลักประกันการใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ๆสำหรับประเภทที่ 1 และที่ 2 อีกต่อไป”

ผู้มีสิทธิ์ขอเงินประกันไฟ

สำหรับผู้มีสิทธิได้คืนเงินประกัน คือกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นผู้วางเงินประกัน (ชื่อตรงบิลค่าไฟ) กรณีที่ผู้วางเงินเสียชีวิตให้ทายาทนำใบมรณบัตรมาประกอบการขอเงินคืน แต่หากประชาชนรายใดไม่ต้องการขอคืนเงินประกัน จะยังได้รับคืนเงินผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยในทุก 5 ปี ตามที่ กกพ.กำหนดไว้เช่นเดิม ทั้งนี้ รายละเอียดการคืนเงิน ขึ้นอยู่กับมิเตอร์ไฟฟ้าของแต่ละบ้าน แบ่งออกได้ 4 ประเภท ดังนี้

meter-electric ขอเงินประกันไฟ มิเตอร์ไฟ

  • มิเตอร์ขนาด5(15) เงินประกันไฟฟ้า 300 บาท
  • มิเตอร์ขนาด15(45) เงินประกันไฟฟ้า 2,000 บาท
  • มิเตอร์ขนาด30(100) เงินประกันไฟฟ้า 4,000 บาท
  • มิเตอร์ขนาด15(45) เฟส 3 เงินประกันไฟฟ้า 6,000 บาท

จากตัวอย่างจะเป็นมิเตอร์ไฟขนาด 15(45) ไฟขนาด 220v จะได้รับเงินคืน 6,000 บาท เป็นต้น

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : https://dmsxupload.pea.co.th/cdp/

การไฟฟ้านครหลวง : https://measy.mea.or.th

ขั้นตอนการขอเงินประกันไฟ

ขั้นตอนขอรับเงินค่าประกันไฟฟ้า

  1. ตรวจสอบหน่วยงานที่สามารถขอเงินประกันไฟฟ้าคืน
  2. เตรียมข้อมูลที่ใช้สำหรับการลงทะเบียน ดังนี้ บัตรประชาชน , บิลค่าไฟ หรือ เลขที่บัญชีแสดงสัญญา (CA/Ref No.1) , ข้อมูลการติดต่อ อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์มือถือ และ ช่องทางการรับเงินคืน
  3. ลงทะเบียน
  4. รอรับผลทาง SMS
  5. เริ่มจ่ายเงินประกันไฟฟ้า ตั้งแต่ 31 มีนาคม 2563

เริ่มต้นด้วย 1 ตรวจสอบหน่วยงานที่สามารถขอเงินประกันไฟคืนได้ ประเภทของผู้ใช้งานไฟฟ้า หลาย ๆ คนคงนึกไม่ออกว่า จะต้องทำเรื่องคืนที่การไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กันแน่ สามารถดูได้จากบิลค่าไฟ หรือ ถ้าไม่แน่ใจ สังเกตุจาก จังหวัดที่อยู่อาศัย สำหรับ จังหวัด กรุงเทพมหานคร , นนทบุรี และ สมุทรปราการ สามารถขอเงินประกันไฟฟ้าได้จาก การไฟฟ้านครหลวง เท่านั้น และ สำหรับ จังหวัดอื่น ๆ สามารถขอเงินคืนได้จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เท่านั้น

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : https://dmsxupload.pea.co.th/cdp/

การไฟฟ้านครหลวง : https://measy.mea.or.th

หลังจากนั้น เริ่มต้นกรอกข้อมูลได้ทันที

pea-how-to-receive-electric-insurance

หลังจากกรอกข้อมูลเรียบร้อย ระบบจะให้ใส่เบอร์ติดต่อ เลือกช่องทางการคืนเงิน ดังนี้

  1. บัญชีพร้อมเพย์
  2. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  3. ผ่านบัญชีธนาคาร
  4. ติดต่อรับเงินที่สำนักงานการไฟฟ้า

สำหรับ การขอเงินคืนผ่านทางช่องทางบัญชีพร้อมเพย์ ระบบจะกรอกเบอร์โทรศัพท์ที่ได้ทำการสมัครพร้อมเพย์ไว้เรียบร้อยแล้ว

หลังจากนั้นรอรับ SMS ผลการลงทะเบียน และ เริ่มรับเงินคืนได้ตั้งแต่ 31 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ การไฟฟ้านครหลวง

MEA-e1584773953141

ขั้นตอนเริ่มต้นสำหรับผู้ที่ต้องการลงทะเบียนขอเงินค่าประกันไฟฟ้า

บุคคลธรรมดา ที่เป็นผู้ชำระค่าประกัน สามารถกรอกเลขที่บัตรประชาชน ระบบจะแสดงจำนวนเงินที่สามารถขอรับเงินคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าทันที หลังจากนั้นกรอก เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ และ ช่องทางการรับเงินคืน ซึ่งจะมีแค่ 3 ช่องทาง คือ

  1. บัญชีพร้อมเพย์
  2. ผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งจะมีแค่ ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์
  3. Counter Services หรือ 7-11 สามารถรับเงินได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วกดยืนยันก็เรียบร้อย

การไฟฟ้านครหลวง ขอเงินประกัน

แบบที่ 2 สำหรับ กรณีที่เป็นผู้อยู่อาศัยหรือชำระค่าไฟฟ้า หลังจากกรอกข้อมูลเลขที่บัตรประชาชนแล้ว ระบบจะให้กรอก เลขที่บัญชีแสดงสัญญา (CA/Ref No.1)

การไฟฟ้านครหลวง ขอเงินประกัน

หลังจากนั้นระบบจะแสดงข้อมูล “ชื่อผู้วางหลักประกัน” โดย การไฟฟ้านครหลวง จะคืนเงินหลักประกันให้กับผู้ที่มีชื่อเดียวกับผู้วางหลักประกันเท่านั้น

การไฟฟ้านครหลวง ขอเงินประกัน

สำหรับคนที่กรอกข้อมูลทั้งหมดในรูปแบบที่ 2 แล้ว แต่ข้อมูล “ชื่อผู้วางหลักประกัน” ไม่แสดงผล ให้ทำการกรอกข้อมูล เพิ่มเติมตามบิลค่าไฟฟ้า โดย ระบุชื่อ เลขที่บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า และ ชื่อผู้วางหลักประกัน

การไฟฟ้านครหลวง ขอเงินประกัน

ในขั้นตอนถัดไป ให้กรอกข้อมูลชื่อผู้วางหลักประกัน และ บัตรประชาชน เพื่อดำเนินการขอเงินคืน

การไฟฟ้านครหลวง ขอเงินประกัน

ใครที่ไม่สามารถลงทะเบียนได้หรือติดขัดสามารถโทรศัพท์หาการไฟฟ้านครหลวง เพื่อทำเรื่องขอเงินประกันคืนได้ที่ 02-256-3333

หมายเหตุ

  1. ผู้ที่รับเงินคืนจะต้องเป็นบุคคลเดียวกับผู้ที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า หรือ เป็นผู้ชำระเงินมิเตอร์ไฟฟ้า
  2. กรณีที่ผู้ที่ขอมิเตอร์ไฟฟ้า หรือ เจ้าของเงินประกันเสียชีวิต/ศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ(เสียชีวิตโดยผลของกฎหมาย) สามารถให้ทายาท หรือ บุคคลในครอบครัว พร้อมทะเบียนบ้าน scan เข้าระบบ
  3. กรณีที่ผู้ที่ขอมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นบุคคลอื่น แต่ ผู้ขอรับเงินเป็นเจ้าของที่ดิน หรือ มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพักอาศัย แต่ไม่ใช่ผู้ขอใช้ไฟฟ้า เช่น กรณีซื้อขาย ,โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาจากบุคคลอื่น ให้เตรียม หนังสือการโอนสิทธิการรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า จากเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-2) หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน นส.3ก
    – หลักฐานผู้ขอรับเงิน
    – กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
    – กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบอำนาจตามข้อ 1
    – ใบเสร็จรับเงินประกันฯ (ถ้ามี)
    – หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือกขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)
  4. บ้านเช่า สามารถขอเงินคืนได้ โดยจะต้อง ส่งคำร้องขอ หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์มกฟภ.-2)
    – หลักฐานผู้โอน/ผู้รับโอน
    – กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
    – กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบอำนาจตามข้อ 1
    – ใบเสร็จรับเงินประกันฯ (ถ้ามี)
    – หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือกขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)

สามารถโหลดฟอร์มได้ที่นี่ : https://dmsxupload.pea.co.th/cdp/file.html

เงินประกันไฟฟ้า นี้ไม่ใช่ เงินค่าประกันมิเตอร์ กรณี มิเตอร์มีปัญหา ยังสามารถแจ้ง การไฟฟ้าให้ดูแลมิเตอร์ได้ตามปกติ เช่น สายไฟขาด มิเตอร์มีปัญหา ทางการไฟฟ้ายังคงดำเนินการให้ตามปกติ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เงินประกันไฟฟ้า นี้หมายถึง หลักประกันในการใช้ไฟฟ้ากับทางการไฟฟ้าฯ ซึ่งตามปกติ เมื่อเราชำระบิลล่าช้า หรือ ผิดนัดชำระค่าไฟ ทางการไฟฟ้าสามารถนำเงินส่วนประกันไฟฟ้านี้ชดเชยได้ทันที

ขอเงินประกันมิเตอร์น้ำ