กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประสบความสำเร็จการแยกเชื้อ”โควิด-19″

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประสบความสำเร็จการแยกเชื้อ”โควิด-19″

เพจเฟซบุ๊ก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยแพร่ข่าวสาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประสบความสำเร็จในการแยกเชื้อ COVID-19 โดยระบุว่า นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประสบความสำเร็จในการแยกเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) หลายราย

ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 มาขยายเพิ่มปริมาณในเซลล์เพาะเลี้ยง ภายใต้การปฏิบัติงานในห้องชีวนิรภัยระดับ 3 (Biosafety Level 3) ด้วยเล็งเห็นว่าเชื้อดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องานวิจัยในหลายแขนง เช่น การพัฒนายาหรือวัคซีนป้องกันโรค การพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยโรค ตลอดจนการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ อันเป็นประโยชน์ต่อการรักษา ป้องกัน และควบคุมโรค ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประสบความสำเร็จในการแยกเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลายราย ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาขยายเพิ่มปริมาณในเซลล์เพาะเลี้ยง ภายใต้การปฏิบัติงานในห้องชีวนิรภัยระดับ 3 (Biosafety Level 3) ด้วยเล็งเห็นว่าเชื้อดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องานวิจัยในหลายแขนง เช่น การพัฒนายาหรือวัคซีนป้องกันโรค การพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยโรค ตลอดจนการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ อันเป็นประโยชน์ต่อการรักษา ป้องกัน และควบคุมโรค ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเชื้ออุบัติใหม่ จัดอยู่ในกลุ่มที่มีอันตรายร้ายแรง คณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการด้านวิชาการและด้านกฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 จึงได้เพิ่มชื่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้จำแนกเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเชื้อกลุ่ม 3 ที่จะต้องควบคุม ผู้ที่จะครอบครองต้องขออนุญาตที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หากหน่วยงานใดมีความประสงค์จะขอครอบครองเชื้อดังกล่าว จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษสัตว์ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยินดีที่จะสนับสนุน หากการศึกษาวิจัยดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษา ป้องกันและควบคุมโรค

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โทร. 0 2951 0000 ต่อ 99206, 99305