ประเทศฟรีวีซ่า เที่ยวได้ คนไทยผ่านฉลุย!

เที่ยวต่างประเทศที่ไหนดี ประเทศฟรีวีซ่า คนไทยผ่านฉลุย! เคยไหมเก็บเงินมาทั้งปี จะได้หยุดยาวทั้งที ไม่รู้จะเที่ยวต่างประเทศที่ไหนดี? เที่ยวเมืองไทยจนพรุนแล้ว พอจะไปต่างประเทศก็ต้องมารอยื่นวีซ่าอีก แถมจะยื่นเรื่องทำวีซ่าแต่ละครั้ง ทั้งยุ่งยาก เอกสารก็เยอะ แล้วยังไม่รู้ว่าวีซ่าจะผ่านรึเปล่า อุตส่าห์วางแผนเก็บเงิน เพื่อรอหยุดยาวมาตั้งนาน ต้องมานั่งลุ้นเรื่องวีซ่าก่อนเดินทางแบบนี้ พี่ช้างว่าคงหมดสนุกเลยนะครับ จะมีไหมนะ? ประเทศที่คนไทยเข้าได้แบบไม่ต้องยื่นวีซ่า วันนี้พี่ช้างจะทำให้เพื่อนๆหมดคำถามที่ว่าจะเที่ยวต่างประเทศที่ไหนดีแบบไม่ต้องยื่นวีซ่า แถมคนไทยเข้าได้เลยแบบผ่านฉลุย! จะบอกว่าแค่เก็บเงินให้พอ แล้วไปเที่ยวประเทศ “ฟรีวีซ่า” กันดีกว่าครับ มีให้เลือกตั้ง 32 ประเทศ ไม่ต้องยื่นวีซ่า ไม่ต้องลุ้นว่าวีซ่าจะผ่านไหม แค่มีเงินในกระเป๋า เก็บสัมภาระ มีพาสปอร์ต 1 เล่ม กล้อง 1 ตัว บินได้เลยจ้า   ฟรีวีซ่า หมายความว่าอะไร? ฟรีวีซ่า ในที่นี้ถ้าเรียกง่ายๆก็หมายความว่า เราไม่ต้องขอวีซ่าเพื่อที่จะเดินทางเข้าออกประเทศนั้นๆครับ ถือแค่พาสปอร์ตแล้วเข้า-ออกประเทศนั้นได้เลย แต่จะมีระยะเวลาอยู่ครับว่าสามารถเข้าไปพำนักอาศัยได้กี่วัน ถ้าเกินกว่านั้นถือว่าผิดกฎหมายอาจจะโดนข้อหาลักลอบเข้าประเทศได้ครับ   ต้องใช้พาสปอร์ตแบบไหนเดินทาง จึงจะฟรีวีซ่า? พาสปอร์ตบุคคลธรรมดา (เล่มสีน้ำตาลหรือแดงเลือดหมู) สามารถเดินทางเข้าออกเขตแดนได้ทั้งหมด 32 ประเทศ […]

เช็คสัมภาระก่อนเลือกเข้าช่องศุลกากร เขียว หรือ แดง?

ออกจากสนามบิน ต้องเลือกออกช่องเขียว หรือช่องแดง?             ตอนรับกระเป๋าที่สายพานออกมาแล้ว ก่อนที่จะเดินออกเคยสังเกตกันไหมว่ามีช่องศุลกากร (Customs) ที่เป็นป้ายสีเขียวและเขียนว่า Nothing to declare หรือไม่มีสิ่งของต้องสำแดง และป้ายสีแดงเขียนว่า Goods to declare หรือมีสิ่งของต้องสำแดง สองช่องนี้เราเรียกกันว่า ช่อง declare ครับ หลายคนบางทีไม่ได้สังเกตุว่าฉันเดินผ่านช่องอะไรออกมา เห็นคนเยอะๆก็ตามเค้าไปอะแหละ สำหรับอีกประเด็นคือเราคงเคยได้ยินข่าวกันมาว่าของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท จะต้องชำระภาษีประมาณ 20% ตามราคาจริงของสินค้า พร้อม Vat เรื่องนี้มีจริงหรือ? เรามาดูรายละเอียดพร้อมไขข้อสงสัยกันครับ   ## รู้ไหม? คำว่าภาษีศุลกากรในที่นี้ จะไม่ใช้คำว่า TAX แต่จะใช้คำว่า DUTY นะครับ ##   ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (Nothing to declare) คนไทยชอบเรียกกันว่า “ช่องเขียว” เราจะผ่านช่องเขียวกันก็ต่อเมื่อเราผ่านเงื่อนไขด้านล่างต่อไปนี้ครับ ไม่มีเสบียงอาหาร ไม่มีของต้องห้าม และของต้องกำกัดตามข้อกำหนดของกรมศุลกากร (อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ […]

ของต้องห้าม และของต้องกำกัด คืออะไร?

ของต้องห้าม และของต้องกำกัด คืออะไร? เดินทางเข้าออกประเทศกันบ่อยๆ ขนของกลับไทยมาก็เยอะ เคยทราบกันไหมว่ามีสินค้าอะไรบ้างที่ไม่สามารถนำเข้าและนำออกนอกประเทศได้ หรือที่เรียกว่าสินค้าต้องห้าม รวมทั้งมีสินค้าใดบ้างที่สามารถนำเข้า นำออกได้เพียงแต่ต้องมีหนังสืออนุญาตจากองค์กรที่ถูกกำหนดตามกฎหมายเท่านั้น หรือที่เรียกว่าสิ่งของต้องกำกัด วันนี้พี่ช้างจะพาไปทำความรู้จักกับสิ่งของต้องห้าม และสิ่งของต้องกำกัด เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ระมัดระวังการนำเข้าสินค้า และการนำสินค้าออกนอกประเทศกันมากขึ้น ถ้าทำอย่างถูกต้องจะได้เข้า-ออกประเทศกันแบบสบายใจมากขึ้นนะครับ   ของต้องห้ามคืออะไร มีสินค้าชนิดใดบ้าง?             ของต้องห้าม (Prohibited Items) คือ ของที่ถูกกำหนดว่าห้ามนำเข้าหรือนำออกนอกราชอาณาจักรแม้กระทั่งห้ามส่งผ่านโดยเด็ดขาด ตามข้อกำหนดกฎหมาย และหากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามมาตราของพระราชบัญญัติศุลกากรครับ สินค้าที่ถูกกำหนดว่าเป็นของต้องห้ามตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันได้แก่ วัตถุลามก ในที่นี้หมายความรวมสื่อทุกชนิดเลยครับ ทั้งหนังสือ ภาพเขียน นิตยสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ สัญลักษณ์ รูปถ่าย ภาพยนตร์ รวมทั้งสื่อลามกอื่นๆอย่างพวก Sex Toy ต่างๆด้วยครับ ข้อนี้อาจจะดูขัดใจใครหลายคนซักหน่อยแม้เราจะทราบกันดีว่าจริงๆแล้วของพวกนี้ไม่น่าเสียหายหรือผิดกฎหมายอะไร เพราะเรื่องทางเพศก็เป็นปกติของมนุษย์อย่างเราอยู่แล้วแถมต่างประเทศยังมองว่าการเปิดกว้างในเรื่องนี้ยังสามารถลดอาชญากรรมเรื่องการข่มขืนลงไปได้มากเลยทีเดียว พี่ช้างก็ยังหวังว่าถ้าบ้านเราเปิดกว้างในเรื่องนี้ซักเล็กน้อยแม้จะขัดกับศีลธรรมไปมากแต่อย่างน้อยก็อาจสามารถช่วยลดคดีอาชญากรรม และการทารุณกรรมเรื่องเพศกับผู้หญิงไปได้บ้างครับ พี่ช้างสงสารผู้หญิงสมัยนี้เหลือเกินไม่ว่าจะทำอะไร แต่งตัวอย่างไรก็กลายเป็นล่อแหลมไปหมด กลายเป็นผู้หญิงที่โดนกระทำเป็นคนผิดไปซะอย่างนั้น สินค้าที่มีลวดลายรูปธงชาติ ไม่ว่าจะอยู่บนสิ่งของใดก็ตามห้ามเลยครับ ยาเสพติดให้โทษทุกชนิด เรื่องนี้แน่นอนว่ายังไงก็ผิดกฎหมายครับ พี่ช้างขอเลี่ยงประเภทของมันแล้วกันนะครับ สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ สินค้าปลอมแปลง […]